JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่# 84 (พ.ศ. 2527)

2017-05-24 11:53:45 ใน เกร็ดความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ » 0 7236

       ดินประสิวเป็นส่วนประกอบของโปแตสเซียมหรือโซเดียมไนเตรท หรือไนไตรท์ เป็นสารที่พบในหินและถ้ำ พบมากที่สุดในอินเดีย นอกจากนี้ยังพบดินประสิวในพืช พวกผัก ต้นทานตะวัน และยาสูบ เป็นสารที่มีประโยชน์มากในทางอุตสาหกรรมทางการแพทย์ และด้านอาหาร คือประโยชน์ของดินประสิวทาง อุตสาหกรรม เช่น  ทำดอกไม้ไฟ  ทำดินปืนหรือดินดำ   ทำระเบิด   เป็นวัตถุช่วยให้โลหะหลอมง่าย ใช้ชุบเหล็กกล้า  ชุบไส้เทียน  ฯลฯประโยชน์ทางการแพทย์ ใช้ในยาขับปัสสาวะ เป็นส่วนประกอบในยาผงแก้หืด ใช้ในร่างกายที่มีโปแตสเซียมน้อยกว่าปกติเป็นต้น  และประโชน์ทางอาหาร คือ เป็นวัตถุกันเสียในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ทุกชนิด เช่น เนื้อเค็ม ปลาช่อนแห้ง ปลาริวกิว อาหารเนื้อสำ เร็จรูป และเป็นสารแต่งสีอาหารเนื้อสัตว์ ทำ ให้เนื้อมีสีแดง จึงใช้ในการผลิตเบคอน ไส้กรอก ปลาร้า ปลาเจ่า ปลารมควัน การที่ดินประสิวทำ ให้เนื้อสัตว์มีสีแดงขึ้นได้เนื่องจากในเนื้อสัตว์มีสารฮีโมโกลลิน ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับดินประสิวกลายเป็นเม็ทฮีโมโกลบิน ทำให้เนื้อมีสีแดงสดแลดูเนื้อสดน่ารับประทาน
 
 
อันตรายของดินประสิว
 
     ถ้าร่างกายได้รับดินประสิวมากเกินไป หรือผู้ที่มีปฏิกิริยาตอบสนองไวต่อสารนี้เป็นพิเศษ ดินประสิวจะทำ ให้เกิดอาการพิษต่อทางเดินอาหาร มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด ปวดศรีษะ ซึ่งอาการต่าง ๆ นี้จะเกิดภายในผู้ที่ได้รับดินประสิวเข้าไปมากหรือผู้ที่แพ้ดินประสิวนอกจากนี้ยังพบว่าสารไนไตรท์ในดินประสิวจะทำ ปฏิกิริยากับสารพวกเซกันดารี เอมีน (Secondary Amine) ในอาหาร เกิดสารไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารที่อาจทำให้เกิดมะเร็งในคนได้
 
     ข้อกำหนดในการใช้ดินประสิวตามกฎหมายอาหารปัจจุบัน หรือประกาศฉบับที# 84 (พ.ศ. 2527) เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร ได้มีข้อกำ หนดเกี่ยวกับการใช้สารดินประสิวเป็นวัตถุกันเสียในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บางประเภท โดยกำหนดให้ใช้โปแตสเซียมไนเตรท หรือโปแตสเซียมไนไตรท์ หรือ โซเดียมไนเตรท หรือโซเดียมไนไตรท์ (ที่ผลิตขึ้นได้มาตรฐานที่จะใช้ผสมอาหารได้)
 
 
*** ปริมาณการใช้ที่เหมาะสม

โซเดียม หรือ โปแตสเซียมไนเตรท  ให้ใช้ในปริมาณไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กก

โซเดียม หรือ โปแตสเซียมไนไตรท์  ให้ใช้ในปริมาณไม่เกิน 50-125 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กก
 
การใช้ในสารไนเตรท และ ไนไตรท์ดังกล่าว ในปริมาณที่แตกต่างไปจากวัตถุประสงค์ ชนิดของอาหารและปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ตามที่ระบุไว้ในประกาศฯจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสำ นักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อน